วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


Learning Log  ในชั้นเรียน

 

การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ มีความสำคัญมากในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่รู้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นภาษากลางของโลก ที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันทั่วโลก การเรียนภาษาอังกฤษให้เก่งนั้นจะต้องเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ คือเน้นการมีส่วนร่วมทางภาษาให้มากที่สุด คือ ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากการฟังและการพูดอย่างเป็นธรรมชาติ จนเกิดทักษะ เช่น การพูดคุยกับเพื่อนเป็นภาษาอังกฤษ การถามไถ่กิจวัตรประจำวันเป็นภาษาอังกฤษ การฟังวิทยุภาษาอังกฤษ ซึ่งเราเริ่มต้นจากสิ่งที่ง่ายๆ ที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันแล้วค่อยขยายออกโลกภายนอก จากการอ่านตำราเรียน ไวยากรณ์ และ vocabulary เป็นต้น

การเรียนภาษาอังกฤษให้เก่งเราต้องรู้หลักไวยากรณ์ต่างๆ อย่างครบถ้วน โดยจะยกตัวอย่างการใช้ Adjective clause (Relative clause) Adjective clause คือ subordinate clause ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนคำ adjective คำหนึ่ง ทำหน้าที่ ขยายคำนาม และคำสรรพนาม แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

  1. De fining Relative clause ทำหน้าที่ขยาย คำนาม หรือคำสรรพนาม ที่เป็น head word ของประโยค main clause โดยจะไม่ใส่ common ( , ) เพราะถือว่า relative clause ชนิดนี้มีความสำคัญ หากตัดออกจะทำให้ความหมายของประโยคหลักไม่สมบูรณ์
    เช่น
    The man whose car was stolen complained to the polite.

  1. The man complained to the polite.
    เป็นประโยคหลักที่ยังมีใจความ ไม่สมบูรณ์จึงต้องมี
  2. His car was stolen ซึ่งเป็น Adjective clause มาขยาย man
    ทำให้ความหมายสมบูรณ์ และเมื่อเชื่อม A เข้ากับ B ให้นำ Relative pronoun

  • whose  มาเชื่อมแทน  his
    เมื่อใช้ Relative Pronoun แทนคำนามหรือคำสรรพนามในประโยคแล้วให้ตัดคำนาม หรือคำสรรพนาม ที่ Relative pronoun นั้นใช้แทนออกไป
     

  1. Non-Defining Relative clause จะวางไว้หลังคำนามหลักของประโยค main clause ซึ่งคำนามนั้นมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเองอยู่แล้ว การใส่ non-defining relative elative clause จึงไม่ได้หมายความว่าไปขยายคำนามที่เป็น head word ของประโยค main clause แต่ใส่ non-defining relative clause จึงไม่ได้ หมายความว่าไปขยายคำนามที่เป็น head word ของประโยค main clause แต่ใส่ non-defining relative clause เพื่อเป็นการเติมข้อมูลของ คำนามหลักเท่านั้น ดังนั้น non defining relative clause จึงมี comma ( , ) คั่นกลางกับคำนามหลัก เช่น we stayed at the Royal Hotel, which William recommended to us

  • จะเห็นได้ว่า ประโยค We stayed at the Royal Hotel มีความหมายที่สมบูรณ์อยู่แล้ว การเพิ่มประโยค Which William recon maded to us ซึ่งขยายคำ นาม the Royal Hotel เป็นเพียงการเพิ่มเติมข้อมูลลงไป และต้องใส่ comma คั่น

     


  • His  house,  Which is on Sukhumvit Road, is a two-storey hose
  • His wife, who teaches English at MDA, got a Ph.D. from the USA.       
     

จากการยกตัวอย่างการใช้ Adjetire Clause จะทำให้เห็นว่าไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ มีความสำคัญมากที่เราจะต้องมีความรู้ ไวยากรณ์เป็นรากฐานให้คนเข้าใจสื่อสารได้รู้เรื่องตรงกัน ถ้าเรารู้แค่คำศัพท์เพียงอย่างเดียว ถ้าวางรากฐานผิดก็จะเกี่ยวโยงให้ประโยคผิดไปด้วย อย่างเช่นในการเรียนการสอนในห้องเรียน เราไม่สามารถรับข้อมูลที่เรียนรู้มาได้จากครูทั้งหมด เราต้องหาความรู้เพิ่มเติมจากข้างนอกเพื่อเป็นความรู้เสริม เช่น การฟังข่าวสารเป็นภาษาอังกฤษ การอ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ เพื่อให้เราได้ทันข่าวสารโลก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น