วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


Adverb of Time  (ความรู้เพิ่มเติม)

 

Adver b of time หมายถึง กริยาวิเศษณ์ที่ขยายกริยาเพื่อแสดงเวลา แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

  1. ประเภทที่เป็นคำเดียว ไม่มีคำอื่นร่วมด้วย ได้แก่

 

today
late
early
now
still
just
yesterday
lately
before
then
yet
after wardts
tomorrow
recently
tonight
soon
already
ete

 

  1. ประเภทที่มีคำอื่นมาประกอบด้วย (Adveibial Phrases of Time)  ได้แก่

 

this morning
last month
next Monday
the day after tomorrow
in January
ln the afternoon
next year
before three o’clock
during Summer
on 5 th Febuary
last week
on sunday
two weeks ago
two weeks ago
etc

 

  1. ประเภทที่เป็นประโยคเพื่อขยายกริยาแสดงเวลา (Adverbial clauses of Time แปลว่า วิเศษประโยคบอกเวลา)  ซึ่งจะขึ้นต้นประโยคด้วยตัวของมันเอง
                    When, sinec, until, aFter, before, as soon as ฯลฯ
                    ส่วนตำแหน่งการวางวิเศษณานุประโยคแสดงเวลานั้น จะอยู่ส่วนใดของประโยคได้ทั้งนั้น เช่น
                    When you have time,  come and see me, please
                    เมื่อคุณมีเวลาก็ขอเชิญเยี่ยมชมบ้างนะ
                    He ran away as soon as he had seen a tiger
                    เขาวิ่งหนีทันทีที่เขาได้เห็นเสือ
    หลักเกณฑ์การวางตำแหน่งของ Adver b of Time

  1. โดยปกติทั่วไปจะวางไว้สุดประโยคเสมอ โดยเฉพาะเมื่อข้อความนั้นเป็นประโยคสั้นๆ เช่น
          Mr.  Smith will leane for London tomossow
          มร. สมิธ  จะออกเดินทางกลับกรุงเทพวันพรุ่งนี้
          Chaiya used to live in Bangkok two years ago
          ไชยา  เคยอยู่กรุงเทพฯ เมื่อ 2 ล่วงมาแล้ว
  2. ถ้าต้องการจะเน้นเวลาให้เป็นกรณีพิเศษ ก็ให้วางไว้ต้นประโยค เช่น
          Last week we went to Chiengnai by train
          สัปดาห์ที่ผ่านมาเราไปเที่ยวเชียงใหม่โดยรถไฟ
          Yesterday he stayed in Singapore; today he’s staying in India
          เมื่อวานนี้เขาพักที่สิงคโปร์  วันนี้เขาพักที่อินเดีย
  3. ถ้ามี Adverb of time หลายคำหรือหลายประเภทมาอยู่ในประโยคเดียวกัน ให้วางจากหน่วยเล็กไปหาหน่วยใหญ่ (small units of time come before layer ones) เสมอ เช่น Ladda’s family is going to visit me at five o’clock in the afternoon on the first of May, 1984
    ครอบครัวของลัดดาจะไปเยี่ยมผมเวลาบ่าย 5 โมงตอนบ่ายของวันที่ 1 พฤษภาคม 1984

 

หมายเหตุ : ถ้าผู้พูดต้องการจะเน้นเวลาที่เป็นหน่วยใหญ่ มากกว่าเวลาที่เป็นหน่วยเล็ก ก็สามารถที่จะวางเวลาที่เป็นหน่วยใหญ่นั้นไว้หน้าเวลาที่เป็นหน่วยย่อยได้ แต่หลังเวลาที่เป็นหน่วยใหญ่นั้นต้องใส่ comma ( , ) เสมอ เช่น

 

The plane arrived yesterday, about four o’olock

เครื่องบินได้มาถึงเมื่อวานนี้ ประมาณบ่าย 4 โมง

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น