วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


วิธีเอาชนะความขี้เกียจ

 

อากาศเย็นกำลังดีหลังวันหยุดต่อเนื่อง แบบนี้ ทำให้การลุกจากเตียงนอนเช้าๆ กลายเป็นกิจกรรมที่ชาวโลกส่วนใหญ่ลงมติว่าทำได้ยากที่สุดไปแล้ว ยังไม่รวมปณิธานปีใหม่ที่เราต่างสัญญากบตัวเองไว้ดิบดี แค่เพียงเริ่มต้นมันแสนยาก  บางที   เหตุผลหนึ่งที่เราเอาชนะความขี้เกียจไม่ค่อยได้ เป็นเพราะเราไม่รู้จักมันดีพอ ทั้งๆ ที่เราได้ยินได้ฟังเรื่องความขี้เกียจมาตั้งแต่เด็กๆ เช่น จากนิทานอีสป เรื่อง มดขยันกับตั๊กแตนขี้เกียจ หรือจากคัมภีร์ไบเบิลที่ระบุว่าความขี้เกียจ (sloth) คือ หนึ่งในบาปเจ็ดประการของมนุษย์

ปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เกิดความขี้เกียจ มีหลายประการ ซึ่งได้แก่ ความอ่อนเพลีย สมองของคนเราต้องการการพักผ่อนอย่างสม่ำเสมอ ความต้องการความสุขสบาย มนุษย์มีสัญชาตญาณรักความสบายอยู่ในตัว การกลัวความล้มเหลว การขาดแรงจูงใจ และพันธุกรรมและสารเคมีในสมอง

นิวรณ์ 5 ต้นตอของความขี้เกียจ หมายถึง สิ่งที่ขวางกั้นจิตไม่ให้มีสมาธิ ทำให้ไม่สามารถทำสิ่งใดให้ประสบความสำเร็จได้ อันได้แก่

  1. กามฉันทะ  คือ  ความยินดี  พอใจ  เพลิดเพลิงในรูป  รส  กลิ่น  เสียง  สัมผัส
  2. พยาบาท  คือ  ความโกรธ  ความพยาบาท  ความไม่พอใจ ความขัดเคืองใจ
  3. ถีนมัทชะ  คือ  ความหดหู่  ถ้อถอย  ความง่วงเหงางาวนอน
  4. อุทอิจกุลกุจจะ  คือ  ความฟุ้งซ่าน  และความรำคาญใจ
  5. วิจิกิจฉา  คือ  ความลังเล  สงสัย  ไม่แน่ใจ



เคล็ดลับในการผ่าด่านความขี้เกียจ

เริ่มจากการเตรียมกายให้พร้อมอยู่เสมอ ออกกำลังกายตอนเช้า เติมพลังโดยการรับประทานอาหารเช้า การกินผักให้มากกว่าเนื้อ ดื่มน้ำสะอาด

  1. ทำด้วยใจรัก เป็นตัวของตัวเอง และทำสิ่งที่คุณชอบ การทำสิ่งที่ชอบจะนำมาซึ่งพลังงานความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีวันสิ้นสุด
  2. การลงมือทำทันที คือ  ยาพิชิตความขี้เกียจที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นรากฐานแรกของความสำเร็จ
  3. เปิดรับความท้าทาย  ลบความคิดที่ว่า  ฉันทำไม่ได้ ทิ้งไป เพราะความผิดพลาดคือครูที่ดีที่สุดของมนุษย์
  4. มองภาพเล็กไว้ก่อน การมองภาพใหญ่ หรือการคาดหวังเป้าหมายในระยะยาว อาจทำให้เกิดความย่อท้อได้ง่ายๆ
  5. ติดตามความคืบหน้า  การเขียนความก้าวหน้าของคุณลงในสมุดทุกวันช่วยให้เราจดจอต่อเป้าหมาย
  6. ให้คำมั่นสัญญา  บอกให้เพื่อนฝูงหรือคนใกล้ตัว  รับรู้เกี่ยวกับเป้าหมายของเรา
  7. เป็นผู้รอที่ดี  เลิกหวังผลแบบทันทีทันใด  แล้วหันมาอดทนเพื่อผลลัพธ์ที่ใหญ่กว่า
  8. ให้รางวัลตัวเอง  ยอมให้ตัวเองได้หยุดพักเมื่อทำงานเล็กๆ สำเร็จ เพื่อสะสมกำลังไว้

 

การบังคับใจตนเองให้ทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ และทำความดีอยู่เสมอต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น เราอย่าปล่อยให้ความสุขสบายเพียงชั่วครั้งชั่วคราวมาลวงให้เราไปไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ดี ถ้าคนไม่รักในงาน แต่หวังผลสำเร็จของงาน ก็จะหาหนทางหลบเลี่ยงเพ่อให้ตัวเองออกแรงน้อยลง  หรือทุจริตเพื่อหวังเงิน  วัตถุ  ตำแหน่ง  ซึ่งตัณหาเหล่านี้คือตัวการที่ทำให้เราขี้เกียจ

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น