วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log ครั้งที่ 1


Learning Log
               
มนุษย์เรา เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเรียนรู้ได้อย่างมากมาย น่ามหัศจรรย์ สามารถนำความรู้ เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมของตน โดยพัฒนาทางร่างกายและสมอง หรือการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อการอยู่รอด และการที่มนุษย์มีสมองเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ สมองของมนุษย์จึงนำไปสู่ ขบวนการทางปัญญา ที่จะต้องได้รับการฝึกฝนจากการเรียนรู้ ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนเป็นสำคัญ การเรียนรู้จะนำไปสู่สติปัญญา มีความเชื่อว่า ผู้มีสติปัญญารู้ว่าจะคิด และเรียนรู้อย่างไร และผู้ที่มีความคิดมีความสามารถในการเรียนรู้ ว่าจะใช้สติปัญญาอย่างไร มีเราก็จะต้องมีการรู้คิด (Meta Cognition) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ของมนุษย์เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ (Awareness) และความสามารถในการควบคุมตนเอง (Self-Regulation) ให้ฝึกฝนตนเอง (plactice)
การเรียนวิชาทักษะ (ภาษาอังกฤษ) ครูมักจะเห็นผู้เรียน เรียนแล้วไม่เกิดความจำ ไม่เข้าถึงแก่นของวิชาความรู้ที่ครูสอนไป หากผู้เรียนไม่เข้าใจความรู้พื้นฐาน หรือแก่นสาระนั้นแล้ว ก็ยากที่จะทำให้ผู้เรียนไปต่อยอดความรู้นั้น เพื่อให้เกิดความรู้ได้ ความรู้ที่ก่อให้เกิดความการจดและจำ จนเกิดเป็นปัญญาระดับสูงสุดของการเรียนรู้นั้นมีอยู่จริง เราเรียกว่า สติปัญญาหรือการรู้คิด (Meta Cognition) คือ การควบคุมและประเมินผลความคิดของตนเอง ความสามารถของบุคคลที่ได้รับการพัฒนา เพื่อควบคุม กำกับกระบวนการทางปัญญา และกระบวนทางความคิด ให้มีความตระหนักในงานและความสามารถใช้ยุทธวิธีทำงานจนสำเร็จอย่างสมบูรณ์ แบ่งเป็น 2 องค์ประกอบ คือ การตระหนักรู้ (Awereness) และความสามารถในการควบคุมตัวเอง (Self-Regnlation) และเมื่อเรามีการตระหนักรู้ และความสามารถในการควบคุมตัวเองแล้ว เราก็สามารถที่จะมีการรู้จักตัวเอง (Self Awereness) มากขึ้น
การรู้จักตนเอง (Self Awareness) คือ การรับรู้ และรู้จักความสามารถของตนเอง จะต้องรู้ว่าเราเป็นคนอย่างไร ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เก่งอะไร ไม่เก่งอะไร และที่สำคัญเราต้องรู้อารมณ์ของตนเองด้วย การรู้จักอารมณ์ตนเองจะนำไปสู่การควบคุมอารมณ์ และการแสดงออกที่เหมาะสม

 
 
 
 
 
 
 

เมื่อเด็กเกิดการรู้คิด และมีการรู้จักตัวเองมากขึ้นแล้ว ครูก็มีความสำคัญที่จะต้องรู้จักตัวผู้เรียน เพื่อเป็นการเสริมต่อการเรียนรู้ ระหว่างครู และผู้เรียน
การเสริมต่อการเรียนรู้ (scaffolding) คือ บทบาทเชิงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ที่ช่วยให้การช่วยเหลือด้วยวิธีการต่างๆ ตามสภาพปัญหาที่เผชิญอยู่ในขณะนั้น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหานั้นได้ด้วยตนเอง โดยครูจะต้องสร้างความสนใจ (Recruitment) เพื่อลดระดับการเรียนรู้ที่ใช้หลักการ ระเบียบ (Rednction in degree of freedom)เพื่อรักษาทิศทางการเรียนรู้ (Direction maintenance) กำหนดลักษณะสำคัญที่ควรพิจารณาของสิ่งที่เรียนรู้ให้เด่นชัด (Marking critical features) เพื่อควบคุมความขับข้องใจของผู้เรียน (Frustration control) และควรมีการสาธิต (Demonstration) หรือมีแบบอย่างให้กับผู้เรียน
ในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษนั้นเราต้องมีการฝึกฝน ตนเองอยู่สม่ำเสมอ เราต้องมีการควบคุมและประเมินความคิดของตนเองเพื่อให้เกิดการรู้คิด โดยการทบทวนบทเรียน เช่น คำศัพท์ ไวยากรณ์ ต้องพัฒนาทักษะ ได้แก่ ทักษะการพูด เช่น คุยกับเพื่อนเป็นภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ทักษะการฟัง เช่น อาจจะฟังเพลงภาษาอังกฤษ ดูหนัง ทักษะการอ่าน (เช่าหรือซื้อนิยายมาอ่าน) ทักษะการเขียน (บันทึกในชีวิตประจำวันเป็นภาษาอังกฤษ โดยต้องหมั่นฝึกฝน ดังคำที่ว่า Practice & Practice & Practice
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น