วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


Adverb of Time  (ความรู้เพิ่มเติม)

 

Adver b of time หมายถึง กริยาวิเศษณ์ที่ขยายกริยาเพื่อแสดงเวลา แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

  1. ประเภทที่เป็นคำเดียว ไม่มีคำอื่นร่วมด้วย ได้แก่

 

today
late
early
now
still
just
yesterday
lately
before
then
yet
after wardts
tomorrow
recently
tonight
soon
already
ete

 

  1. ประเภทที่มีคำอื่นมาประกอบด้วย (Adveibial Phrases of Time)  ได้แก่

 

this morning
last month
next Monday
the day after tomorrow
in January
ln the afternoon
next year
before three o’clock
during Summer
on 5 th Febuary
last week
on sunday
two weeks ago
two weeks ago
etc

 

  1. ประเภทที่เป็นประโยคเพื่อขยายกริยาแสดงเวลา (Adverbial clauses of Time แปลว่า วิเศษประโยคบอกเวลา)  ซึ่งจะขึ้นต้นประโยคด้วยตัวของมันเอง
                    When, sinec, until, aFter, before, as soon as ฯลฯ
                    ส่วนตำแหน่งการวางวิเศษณานุประโยคแสดงเวลานั้น จะอยู่ส่วนใดของประโยคได้ทั้งนั้น เช่น
                    When you have time,  come and see me, please
                    เมื่อคุณมีเวลาก็ขอเชิญเยี่ยมชมบ้างนะ
                    He ran away as soon as he had seen a tiger
                    เขาวิ่งหนีทันทีที่เขาได้เห็นเสือ
    หลักเกณฑ์การวางตำแหน่งของ Adver b of Time

  1. โดยปกติทั่วไปจะวางไว้สุดประโยคเสมอ โดยเฉพาะเมื่อข้อความนั้นเป็นประโยคสั้นๆ เช่น
          Mr.  Smith will leane for London tomossow
          มร. สมิธ  จะออกเดินทางกลับกรุงเทพวันพรุ่งนี้
          Chaiya used to live in Bangkok two years ago
          ไชยา  เคยอยู่กรุงเทพฯ เมื่อ 2 ล่วงมาแล้ว
  2. ถ้าต้องการจะเน้นเวลาให้เป็นกรณีพิเศษ ก็ให้วางไว้ต้นประโยค เช่น
          Last week we went to Chiengnai by train
          สัปดาห์ที่ผ่านมาเราไปเที่ยวเชียงใหม่โดยรถไฟ
          Yesterday he stayed in Singapore; today he’s staying in India
          เมื่อวานนี้เขาพักที่สิงคโปร์  วันนี้เขาพักที่อินเดีย
  3. ถ้ามี Adverb of time หลายคำหรือหลายประเภทมาอยู่ในประโยคเดียวกัน ให้วางจากหน่วยเล็กไปหาหน่วยใหญ่ (small units of time come before layer ones) เสมอ เช่น Ladda’s family is going to visit me at five o’clock in the afternoon on the first of May, 1984
    ครอบครัวของลัดดาจะไปเยี่ยมผมเวลาบ่าย 5 โมงตอนบ่ายของวันที่ 1 พฤษภาคม 1984

 

หมายเหตุ : ถ้าผู้พูดต้องการจะเน้นเวลาที่เป็นหน่วยใหญ่ มากกว่าเวลาที่เป็นหน่วยเล็ก ก็สามารถที่จะวางเวลาที่เป็นหน่วยใหญ่นั้นไว้หน้าเวลาที่เป็นหน่วยย่อยได้ แต่หลังเวลาที่เป็นหน่วยใหญ่นั้นต้องใส่ comma ( , ) เสมอ เช่น

 

The plane arrived yesterday, about four o’olock

เครื่องบินได้มาถึงเมื่อวานนี้ ประมาณบ่าย 4 โมง

 

เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ

 

การสื่อสารในชีวิตประจำวันนั้นการฟังนับว่าเป็นทักษะการรับสารที่สำคัญทักษะหนึ่ง เป็นทักษะที่ใช้กันมาก และเป็นทักษะแรกที่ต้องทำ เพราะผู้พูดจะต้องฟังให้เข้าใจก่อน จึงจะสามารถพูดโต้ตอบ อ่านหรือที่สำคัญในการเรียนรอว่าเขียนได้ ทักษะการฟังจึงเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ทักษะอื่นๆ ดังนั้นในการเรียนการสอนของเราจึงควรได้รับการฝึกฝนทักษะการฟังอย่างเพียงพอ และเหมาะสม

ทักษะการฟัง หมายถึง ความสามารถในการจับประเด็นใจความหลักจากสิ่งที่ฟังได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน การฟังในชีวิตประจำวันของคนเราจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ การฟังที่ได้ยิน โดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆ ไป และการฟังอย่างตั้งใจและมีจุดหมาย ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญ และมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารทีได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะประสบผลสำเร็จ และสิ่งสำคัญที่เราควรพิจารณาในการฟังได้แก่

  • สถานการณ์ในการฟัง สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการฟังภาษาอังกฤษได้นั้น ควรเป็นสถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สถานการณ์จริงตัวอย่างเช่น การฟังคำสั่งครู การฟังเพื่อสนทนา การฟังโทรศัพท์
  • กิจกรรมในการสอนฟัง ซึ่งได้แก่ กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง การที่ผู้เรียนจะฟังสารได้อย่างเข้าใจ ควรมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่ได้รับฟัง โดยครูอาจะมีกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบทเรียนก่อน และลำดับที่สองกิจกรรมระหว่างการฟัง หรือขณะที่ฟัง เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่รับฟังสารนั้น และลำดับสุดท้าย กิจกรรมหลังการฟัง เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการฟังแล้ว
    คุณค่าของการฟัง คือ เป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะต้องฟังอย่างตั้งใจ ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญ และมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้ และเทคนิคในการสอนเทคนิคการฟังที่ดี
    ดังนั้น การฟังเป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตของเราและบุคคลทั่วๆ ไป เราควรจะทราบการเป็นผู้ฟังทีดีที่จะปฏิบัติโดย การมีสมาธิเป็นสิ่งจำเป็น การฟังผู้ฟังต้องตัดความวิตกกังวลใจต่างๆ ควรตั้งจุดมุ่งหมายไว้ว่าจะฟังเพื่ออะไร เช่น ฟังเพื่อจับใจความสำคัญ ต้องรู้จักวิเคราะห์เจตนาของผู้พูดว่า ผู้พูดมีความประสงค์อย่างไร ในขณะที่กำลังฟัง ต้องรู้จักใช้สติปัญญาวิเคราะห์ดูว่า ผู้พูดกำลังพูดถึงเรื่องอะไร เรืองที่ฟังนั้นมีประเด็นสำคัญอย่างไร แล้วพยายามสรุปความคิดรวบยอด ผู้ฟังที่ดีต้องวางใจเป็นกลาง ไม่มีอคติใดๆ ต่อผู้พูด ควรหลีกเลี่ยงการจับผิดเล็กๆ น้อยๆ เช่น การแต่งกาย การพูดซ้ำไปซ้ำมา เพราะจะทำให้ผู้พูดเสียความรู้สึก ฟังด้วยความอดทนและตั้งใจฟัง ต้องอดทนและตั้งใจตั้งแต่ต้นจนจบ ผู้ฟังควรฟังอย่างำสรวม ให้เกียรติผู้พูด และมีมารยาทอันดีงามนับเป็นคุณสมบัติของผู้ฟังทีดี การรู้ว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร เช่น การลุกเข้าออกการทำเสียงเอยอะนับเป็นกริยาที่ไม่เหมาสม ถือว่าไม่ให้เกียรติผู้พูด และเป็นเสียมารยาทอย่างยิ่ง กรฟังในห้องหากไม่จำเป็นก็ไม่ควรลุกออก ไม่พยายามถามสอด ควรฟังเรื่องผู้พูดต้องการพูดให้หมดแล้ว จะซักถามหรือแสดงความคิดเห็นก็ควรถามภายหลัง ผู้ฟังที่ดีไม่ควรฟังเพียงอย่างเดียว เราควรใช้ไหวพริบในบางโอกาส จุดหมายปลายทางเพื่อช่วยให้ผู้พูดสามารถ่ายทอดความรู้ความคิดของตนไปสู่จุดหมายปลายทางตามที่ผู้ฟังต้องการโดยใช้คำถามนำไปสู่จุดที่ผู้ฟังต้องการ ควรบันทกสิ่งที่สำคัญๆ ผู้ฟังควรมีเวลาคิดทบทวน ว่าเรื่องราวต่างๆ ที่ฟังไปนั้นตรงกับข้อเท็จจริง และมีเหตุผลน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด มีสิ่งที่นำไปปฏิบัติได้หรือไม่ และรู้จักนำความรู้หรือข้อคิดต่างๆ ที่ได้จากการฟังไปใช้ประโยชน์ ตามโอกาสอันสมควร โดยใช้แนวคิดของตนไปสู่จุดเหมาย โดยละเอียดและรอบคอบ
    การฟังสารผ่านสื่อเป็นปัจจัยสำคัญในการแสวงหาความรู้ทั้งความรอบรู้ของสังคมประเทศชาติ ความรู้ในการดำเนินชีวิตและความรู้ในแขนงต่างๆ รวมทั้งเพื่อการศึกษาความรู้ในชั้นเรียนในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน และทักษะการฟังนี้จะช่วยให้เราบรรลุถึงเป้าหมายในการฟังได้ดีอีกด้วย ทักษะการฟังภาษาอังกฤษ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสานที่ได้รับเราควรมีความรู้และเทคนิคที่ดี เพื่อให้การฟังนั้นเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
     

 

การแปลประโยคกรรม  (Passive voice)

 

ภาษาอังกฤษเป็นภาษานำมาถ่ายทอดเป็นภาษาต่างๆ มากที่สุดในโลก  โดยเฉพาะการถ่ายทอดเป็นภาษาไทย เพราะแหล่งความรู้สมัยใหม่มักเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลาง เช่น internet ภาพยนตร์ จดหมายสมัครงาน การเจรจาธุรกิจ หรือในการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษจึงเป็นกุญแจสำคัญที่ใช้เปิดประตูเข้าสู่โลกความรู้ เช่น  การอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ การสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กับชาวต่างชาติ ดังนั้นการแปลงจึงมีความสำคัญมาก ผู้แปลจะต้องพิจารณาบริบทอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้การแปลเสียหาย

ในการแปลประโยคกรรม จากภาษาอังกฤษเป็นไทยนั้น ผู้แปลจะต้องพิจารณาบริบท (context) ในภาษาอังกฤษอย่างรอบคอบ เพื่อดูความหมายที่แฝงอยู่ ถ้าบริบทเป็นประสบการณ์ในเชิงลบ หรือความหมายในทางไม่ดี เวลาแปลให้ใช้ประโยคกรรมแบบที่ 1 คือ ประโยคกรรมถูก  ถ้าบริบทเป็นประสบการณ์อันน่าพึงพอใจ หรือบ่งบอกถึงสถานการณ์อันน่ายินดี ก็ไม่ใช้ประโยคกรรมได้รับ หรือประโยคกรรมแบบที่ 2 จากบริบทบ่งบอกว่า ประธานเป็นเพียงผู้รับผลการกระทำจากใครคนใดคนหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ให้ใช้ประโยคกรรม  แบบที่ 3 ซึ่งมีนัยความหมายเป็นกลาง ประโยคกรรมทีนัยความเป็นกลางจะทำหน้าที่บอกกล่าว เล่าเรื่อง หรือรายงาน เหตุการณ์ สถานการณ์

ข้อแนะนำ  วิธีการแปลประโยคกรรมที่ให้ใช้ข้างต้น ลองดูตัวอย่างการแปลประโยคแบบต่างๆ ได้แก่

  1. ประโยคกรรมนัยความหมายไม่ดี

  1. The police station at Mukdaharn was attacked by a group of terrorists on Sunday
    สถานีตำรวจที่มุกดาหารถูกกลุ่มผู้ก่อการร้ายโจมตีเมื่อวันอาทิตย์
  2. The students were punished for cutting class
    นักเรียนถูกทำโทษเพราะโดดเรียน
  3. That man was fined for throwing cigarettes on the floor
    ผู้ชายคนนั้นถูกปรับฐานโยนบุหรี่ลงบนพื้น

 

ประโยคกรรมนัยความหมายดี

  1. He was appointed the chairman of the company
    เขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานบริษัท
     
  2. He was invited to a party
    เขาได้รับเชิญไปงานเลี้ยง
  3. Thai hotels are praised all over the world for their excellent service

โรงแรมไทยได้รับยกย่องไปทั่วโลกด้วยการบริการชั้นยอดเยี่ยม

 

ประโยคกรรมนัยความหมายกลาง

  1. This building has been well desigred to conserve energy
    ตึกนี้ออกแบบมาเป็นอย่างดี  ให้ประหยัดพลังงาน
  2. Fancakes should be eaten warn from the pan
    แพนเค้กควรรับประทานร้อนๆ จากกระทะ
  3. This fine bread is made from a special wheat floue
    ขนมปังแสนอร่อยนี้ทำจากแป้งสาลีชนิดพิเศษ



ในบางบริบทผู้แปลอาจจะพบว่า ไม่อาจแปลประโยคกรรมในภาษาอังกฤษให้ตรงกับประโยคกรรมรูปใดรูปหนึ่ง ในภาษาไทยที่กล่าวมาแล้วได้ เพราะแปลแล้วไม่ได้ใจความ ฟังไม่รื่นหู ก็อาจเลือกแปลประโยคกรรมนั้นออกมาเป็นประโรมกรรม  (ประโยคที่มีโครงสร้างประธาน + กิริยา + กรรม หรือประโยค active voice ในภาษาอังกฤษ)

ในการแปลงภาษาอังกฤษ ผู้แปลจะต้องเข้าใจ ภาษาทั้งสองคือทั้งภาษาต้นฉบับ และภาษาแปลงเป็นอย่างดี ต้องมีความรู้ และภูมิหลัง ในเรื่องที่จะแปลงพอสมควร ต้องมีความสามารถใช้ภาษาอย่างดี เพื่อที่จะได้ถ่ายทอดความคิดของผู้เขียนต้นฉบับให้ผู้อ่านฉบับแปลรู้เรื่อง เข้าใจ และอ่านได้อย่างมีอรรถรส ผู้เขียนจะต้องใช้ภาษาที่เรียบง่าย แต่ต้องตรงกับฉบับ กรดูประโยคกรรมนัยมีความสำคัญกับการแปลด้วย เพื่อที่จะดูความหมายที่แฝงอยู่ ผู้แปลจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างสมควร จะทำให้การแปลมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

 

วิธีเอาชนะความขี้เกียจ

 

อากาศเย็นกำลังดีหลังวันหยุดต่อเนื่อง แบบนี้ ทำให้การลุกจากเตียงนอนเช้าๆ กลายเป็นกิจกรรมที่ชาวโลกส่วนใหญ่ลงมติว่าทำได้ยากที่สุดไปแล้ว ยังไม่รวมปณิธานปีใหม่ที่เราต่างสัญญากบตัวเองไว้ดิบดี แค่เพียงเริ่มต้นมันแสนยาก  บางที   เหตุผลหนึ่งที่เราเอาชนะความขี้เกียจไม่ค่อยได้ เป็นเพราะเราไม่รู้จักมันดีพอ ทั้งๆ ที่เราได้ยินได้ฟังเรื่องความขี้เกียจมาตั้งแต่เด็กๆ เช่น จากนิทานอีสป เรื่อง มดขยันกับตั๊กแตนขี้เกียจ หรือจากคัมภีร์ไบเบิลที่ระบุว่าความขี้เกียจ (sloth) คือ หนึ่งในบาปเจ็ดประการของมนุษย์

ปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เกิดความขี้เกียจ มีหลายประการ ซึ่งได้แก่ ความอ่อนเพลีย สมองของคนเราต้องการการพักผ่อนอย่างสม่ำเสมอ ความต้องการความสุขสบาย มนุษย์มีสัญชาตญาณรักความสบายอยู่ในตัว การกลัวความล้มเหลว การขาดแรงจูงใจ และพันธุกรรมและสารเคมีในสมอง

นิวรณ์ 5 ต้นตอของความขี้เกียจ หมายถึง สิ่งที่ขวางกั้นจิตไม่ให้มีสมาธิ ทำให้ไม่สามารถทำสิ่งใดให้ประสบความสำเร็จได้ อันได้แก่

  1. กามฉันทะ  คือ  ความยินดี  พอใจ  เพลิดเพลิงในรูป  รส  กลิ่น  เสียง  สัมผัส
  2. พยาบาท  คือ  ความโกรธ  ความพยาบาท  ความไม่พอใจ ความขัดเคืองใจ
  3. ถีนมัทชะ  คือ  ความหดหู่  ถ้อถอย  ความง่วงเหงางาวนอน
  4. อุทอิจกุลกุจจะ  คือ  ความฟุ้งซ่าน  และความรำคาญใจ
  5. วิจิกิจฉา  คือ  ความลังเล  สงสัย  ไม่แน่ใจ



เคล็ดลับในการผ่าด่านความขี้เกียจ

เริ่มจากการเตรียมกายให้พร้อมอยู่เสมอ ออกกำลังกายตอนเช้า เติมพลังโดยการรับประทานอาหารเช้า การกินผักให้มากกว่าเนื้อ ดื่มน้ำสะอาด

  1. ทำด้วยใจรัก เป็นตัวของตัวเอง และทำสิ่งที่คุณชอบ การทำสิ่งที่ชอบจะนำมาซึ่งพลังงานความคิดสร้างสรรค์ ไม่มีวันสิ้นสุด
  2. การลงมือทำทันที คือ  ยาพิชิตความขี้เกียจที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นรากฐานแรกของความสำเร็จ
  3. เปิดรับความท้าทาย  ลบความคิดที่ว่า  ฉันทำไม่ได้ ทิ้งไป เพราะความผิดพลาดคือครูที่ดีที่สุดของมนุษย์
  4. มองภาพเล็กไว้ก่อน การมองภาพใหญ่ หรือการคาดหวังเป้าหมายในระยะยาว อาจทำให้เกิดความย่อท้อได้ง่ายๆ
  5. ติดตามความคืบหน้า  การเขียนความก้าวหน้าของคุณลงในสมุดทุกวันช่วยให้เราจดจอต่อเป้าหมาย
  6. ให้คำมั่นสัญญา  บอกให้เพื่อนฝูงหรือคนใกล้ตัว  รับรู้เกี่ยวกับเป้าหมายของเรา
  7. เป็นผู้รอที่ดี  เลิกหวังผลแบบทันทีทันใด  แล้วหันมาอดทนเพื่อผลลัพธ์ที่ใหญ่กว่า
  8. ให้รางวัลตัวเอง  ยอมให้ตัวเองได้หยุดพักเมื่อทำงานเล็กๆ สำเร็จ เพื่อสะสมกำลังไว้

 

การบังคับใจตนเองให้ทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ และทำความดีอยู่เสมอต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น เราอย่าปล่อยให้ความสุขสบายเพียงชั่วครั้งชั่วคราวมาลวงให้เราไปไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่างไรก็ดี ถ้าคนไม่รักในงาน แต่หวังผลสำเร็จของงาน ก็จะหาหนทางหลบเลี่ยงเพ่อให้ตัวเองออกแรงน้อยลง  หรือทุจริตเพื่อหวังเงิน  วัตถุ  ตำแหน่ง  ซึ่งตัณหาเหล่านี้คือตัวการที่ทำให้เราขี้เกียจ

 

 

การฝึกภาษาอังกฤษผ่นเพลง

Englioh Phrough Music

 

การศึกษาภาษาอังกฤษไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในตำราเรียน ห้องเรียน แต่เราสามารถเรียนรู้ ได้จากทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวของเรา เราสามารถเรียนภาษาอังกฤษได้ด้วยตัวเราเอง โดยการฟังเพลงภาษาอังกฤษ การดูหนัง การฟังวิทยุ หรือแม้กระทั่งการอ่านหนังสือพิมพ์ สามารถฝึกฝนด้วยตนเองผ่านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน

ดิฉันได้ฝึกทักษะการฟังเพลงภาษาอังกฤษที่ชอบ โดยฟังครั้งละหลายๆ รอบ โดยการหาเนื้อเพลงนั้นมาดู อ่านเนื้อเพลง ทำความเข้าใจ ถ้าไม่รู้คำศัพท์คำไหนก็เปิดอ่านคำแปลของคำนั้น จากนั้นก็เปิดเพลงฝึกร้องตาม เปิดฟังซ้ำๆ ดิฉันได้เปิดฟังเพลง lost star ประมาณ 4 รอบ และอ่านเนื้อเพลงตาม ก็เริ่มเข้าใจว่าเพลงนี้มีเนื้อหาที่เกี่ยวกับ ความรักของชายหนุ่มที่มีให้กับหญิงสวย โดยเขาอยากให้หญิงสาวเปิดใจรับเขาบ้าง อีกทั้งเพลงนี้ยังเล่าถึงเหตุการณ์ในชีวิตที่บางทีเหมือนกับกำลังเคว้งคว้าง ไม่รู้ว่าควรจะทำยังไงกับชีวิตดี เขาตัดพ้อว่าเขาก็เป็นแค่เพียงดาวที่หลงทาง ที่ฝืนอยากจะไปส่องแสงในความมือเท่านั้นใช่ไหม?” โดยเพลงมีเนื้อหาดังนี้

 

เพลง  Lost stars

 

  • Please don’t see just a boy canght up in dreams and fantasies
    โปรดอย่างมองฉันว่าเป็นเพียงเด็กผู้ชายที่วิ่งไล่ตามความฝันและจินตนาการ
  • Please see me reaching out for someone I can’t see
    ได้โปรดมองฉัน ว่ากำลังพยายามไคว่คว้าใครสักคนที่ฉันมองไม่เห็น
  • Take my hand let’s see where we wade up tomorrow
    จับมือฉันไว้ และคอยดูว่า เราจะตื่นนอนในวันพรุ่งนี้ในสถานที่แห่งใด
  • Best laid plans sometimes are just a one night stand
    ความยุ่งเหยิงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในบางครั้ง ก็เป็นเพียงความสัมพันธ์ในค่ำคืน
  • I’d be damned Cupid’s demanding back his arrow
    ฉันคงต้องแย่แน่ๆ ที่กามเทพต้องการขอลูกศรแหงความรักของเขาคืน
  • So let’s get drunk on our t ears and
    ดังนั้นแล้ว เรามาดื่มให้กับน้ำตาของพวกเรากันเทอะ
  • God, tell us the reason youth is wasted on the young   

พระเจ้า  ได้โปรดบอกถึงเหตุผลที่ ช่วงวัยรุ่นถูกใช้ไปโดยเปล่าประโยชน์  โดยคนหนุ่มสาว

 

But are we all lost stars,  trying to light up the dark?

แต่เราทุกคนจะใช่ดวงดาวที่หลงทาง  ที่พยายามจะส่องแสงในความมืดมิดนั้นหรือเปล่า

 

แนวทางหนึ่งที่จะทำให้เราอยู่กับภาษาอังกฤษได้ทุกวันทุกเวลา คือ การฝึกภาษาอังกฤษผ่านเพลง หากเราฟังเพลงสากลทุกวัน แล้วอ่านเนื้อเพลง อ่านความหมาย เราจะมีทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ได้ศัพท์ ได้สำเนียงการพูด โดยอัตโนมัติ และเป็นการเรียนรู้ที่สนุก ไม่น่าเบื่อ

 

 

ฝึกทักษะ  การเป็นผู้ฟังที่ดี

 

การฟังที่ดี ผู้ฟังจะต้องตั้งวัตถุประสงค์ไว้ในใจเสียก่อน โดยทั่วไปมักมีจุดประสงค์ 3 ประการ คือ ฟังเพื่อให้เกิดความรู้ และความรอบรู้ ฟังเพื่อหาสาเหตุ เหตุผลมาโต้แย้งหรือคล้อยตาม ซึ่งเป็นที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้ฟังมีวิจารณญาณในการฟังเป็นสำคัญ คือฟังอะไรบ้าง ต้องเป็นผู้รู้จักคิด รู้จักไตร่ตรองว่า สิ่งที่ตนได้ฟังมานั้นมีเหตุผลสมควรเชื่อถือหรือไม่ อันเป็นการฝึกให้เป็นคนสุขุมรอบคอบ และฟังเพื่อความเพลิดเพลินและซาบซึ้ง

การฟังเป็นสิ่งที่สำคัญต่อชีวิตของบุคคลทั่วไป เราควรจะทราบของการเป็นผู้ฟังที่ดี มีดังนี้

  1. มีสมาธิในการฟัง เป็นสิ่งจำเป็นในการฟัง ผู้ฟังต้องตัดความวิตกหรือความกังวลใจต่างๆ ออกจากจิตใจให้หมด หมั่นฝึกความมีสมาธิให้แก่ตนเอง
  2. ตั้งจุดมุ่งหมายในการฟัง ในการฟังแต่ละครั้ง ผู้ฟังควรตั้งจุดมุ่งหมายไว้ว่าจะฟังเพื่ออะไร เช่น ฟังเพื่อจับใจความสำคัญ ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน
  3. วิเคราะห์เจตนาของผู้พูด คือ ต้องรู้จักวิเคราะห์เจตนาของผู้พูดว่า ผู้พูดว่ามีความประสงค์อย่างไร
  4. สนใจและจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่ฟังให้ได้ คือ ขณะฟังต้องรู้จักใช้สติปัญญาวิเคราะห์ดูว่า ผู้พูดกำลังพูดเรื่องอะไร ให้สารประโยชน์อะไรบ้าง
  5. ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่มีอคติใดๆ ต่อผู้พูด การมีอคติและการจับผิดผู้พูดย่อมมีผลเสียมากกว่าได้ ควรหลีกเลี่ยงการจับผิดเล็กๆ น้อยๆ เช่น การแต่งกาย การพูดซ้ำๆ ซากๆ ในบางคำ เพราะจะทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกว่าเร่องที่พูดออกไปนั้น เป็นเรื่องตำหนิ
  6. ฟังด้วยความอดทนและตั้งใจ ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ การฟังอย่างครึ่งๆ กลางๆ หรือฟังเพียงบางตอน ย่อมทำให้ไม่สามารถเข้าใจเนื้อเรื่องได้อย่างสมบูรณ์
  7. ฟังอย่างสำรวม ให้เกียรติผู้พูด และมีมารยาทอันดีงาม นับเป็นคุณสมบัติของผู้พูดที่ดี การรู้ว่าสิ่งใดควรไม่ควร เป็นการลุกเข้าออก การทำเสียงแอะอะ
  8. ใช้ศิลปะในการฟัง ผู้ฟังที่ดีไม่ควรฟังอย่างเดียว ควรใช้ไหวพริบในบางโอกาส เพื่อช่วยให้ผู้พูดสามารถ่ายทอดความรู้ ความคิดของตน
  9. ขณะฟังควรบันทึกสิ่งสำคัญ หากสงสัยหาโอกาสซักถามให้เหมาะสม
  10. หลังจากฟัง ผู้ฟังควรมีเวลาทบทวน ว่าเรื่องราวต่างๆ ที่ฟังไปนั้นตรงกับข้อเท็จจริง และมีเหตุผลน่าเชื่อถือเพียงใด มีสิ่งใดที่จะนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้หรือไม่
     
    การเป็นผู้ฟังที่ดี อาจฝึกฝนได้ง่าย โดยการฟังเทป บทเรียน หนังสือ เสียงต่างๆ โดยตั้งเวลาในการฟังอย่างเจาะจง พร้อมจดจ่ออยู่ที่เนื้อหาของผู้พูดอยู่เสมอ นอกจากนี้ โดยใช้สถานการณ์ที่ทำให้การฟังเป็นไปอย่างยากลำบาก เช่นมีสิ่งเร้ารบกวน การฝึกการฟังบ่อยๆ จะทำให้เราเป็นผู้ฟังที่ดีได้
     

ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ

 

การฝึกทักษะภาษาอังกฤษ

มีความสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลทีได้ไปแก้ปัญหาต่างๆ ได้ การเรียนรู้ทักษะการอ่านแบบต่างๆ ได้แก่ การอ่านแบบ skimming,  scanning  และ speed reading  เมื่อรู้เทคนิคการอ่านแล้ว ผู้เรียนควรเริ่มฝึกโดยการอ่านเรื่องที่น่าสนใจ เรื่องสั้นๆ ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาและตีความหมายจากเรื่องที่อ่านได้