วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


ฝึกทักษะ  การเป็นผู้ฟังที่ดี

 

การฟังที่ดี ผู้ฟังจะต้องตั้งวัตถุประสงค์ไว้ในใจเสียก่อน โดยทั่วไปมักมีจุดประสงค์ 3 ประการ คือ ฟังเพื่อให้เกิดความรู้ และความรอบรู้ ฟังเพื่อหาสาเหตุ เหตุผลมาโต้แย้งหรือคล้อยตาม ซึ่งเป็นที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้ฟังมีวิจารณญาณในการฟังเป็นสำคัญ คือฟังอะไรบ้าง ต้องเป็นผู้รู้จักคิด รู้จักไตร่ตรองว่า สิ่งที่ตนได้ฟังมานั้นมีเหตุผลสมควรเชื่อถือหรือไม่ อันเป็นการฝึกให้เป็นคนสุขุมรอบคอบ และฟังเพื่อความเพลิดเพลินและซาบซึ้ง

การฟังเป็นสิ่งที่สำคัญต่อชีวิตของบุคคลทั่วไป เราควรจะทราบของการเป็นผู้ฟังที่ดี มีดังนี้

  1. มีสมาธิในการฟัง เป็นสิ่งจำเป็นในการฟัง ผู้ฟังต้องตัดความวิตกหรือความกังวลใจต่างๆ ออกจากจิตใจให้หมด หมั่นฝึกความมีสมาธิให้แก่ตนเอง
  2. ตั้งจุดมุ่งหมายในการฟัง ในการฟังแต่ละครั้ง ผู้ฟังควรตั้งจุดมุ่งหมายไว้ว่าจะฟังเพื่ออะไร เช่น ฟังเพื่อจับใจความสำคัญ ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน
  3. วิเคราะห์เจตนาของผู้พูด คือ ต้องรู้จักวิเคราะห์เจตนาของผู้พูดว่า ผู้พูดว่ามีความประสงค์อย่างไร
  4. สนใจและจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่ฟังให้ได้ คือ ขณะฟังต้องรู้จักใช้สติปัญญาวิเคราะห์ดูว่า ผู้พูดกำลังพูดเรื่องอะไร ให้สารประโยชน์อะไรบ้าง
  5. ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่มีอคติใดๆ ต่อผู้พูด การมีอคติและการจับผิดผู้พูดย่อมมีผลเสียมากกว่าได้ ควรหลีกเลี่ยงการจับผิดเล็กๆ น้อยๆ เช่น การแต่งกาย การพูดซ้ำๆ ซากๆ ในบางคำ เพราะจะทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกว่าเร่องที่พูดออกไปนั้น เป็นเรื่องตำหนิ
  6. ฟังด้วยความอดทนและตั้งใจ ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ การฟังอย่างครึ่งๆ กลางๆ หรือฟังเพียงบางตอน ย่อมทำให้ไม่สามารถเข้าใจเนื้อเรื่องได้อย่างสมบูรณ์
  7. ฟังอย่างสำรวม ให้เกียรติผู้พูด และมีมารยาทอันดีงาม นับเป็นคุณสมบัติของผู้พูดที่ดี การรู้ว่าสิ่งใดควรไม่ควร เป็นการลุกเข้าออก การทำเสียงแอะอะ
  8. ใช้ศิลปะในการฟัง ผู้ฟังที่ดีไม่ควรฟังอย่างเดียว ควรใช้ไหวพริบในบางโอกาส เพื่อช่วยให้ผู้พูดสามารถ่ายทอดความรู้ ความคิดของตน
  9. ขณะฟังควรบันทึกสิ่งสำคัญ หากสงสัยหาโอกาสซักถามให้เหมาะสม
  10. หลังจากฟัง ผู้ฟังควรมีเวลาทบทวน ว่าเรื่องราวต่างๆ ที่ฟังไปนั้นตรงกับข้อเท็จจริง และมีเหตุผลน่าเชื่อถือเพียงใด มีสิ่งใดที่จะนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้หรือไม่
     
    การเป็นผู้ฟังที่ดี อาจฝึกฝนได้ง่าย โดยการฟังเทป บทเรียน หนังสือ เสียงต่างๆ โดยตั้งเวลาในการฟังอย่างเจาะจง พร้อมจดจ่ออยู่ที่เนื้อหาของผู้พูดอยู่เสมอ นอกจากนี้ โดยใช้สถานการณ์ที่ทำให้การฟังเป็นไปอย่างยากลำบาก เช่นมีสิ่งเร้ารบกวน การฝึกการฟังบ่อยๆ จะทำให้เราเป็นผู้ฟังที่ดีได้
     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น