วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


การพัฒนาทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี

 

ทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดี

การสื่อสารที่ใช้ช่องทางด้านการเจรจาโต้ตอบ ผู้ที่จะรับสารได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน จนสามารถนำไปดำเนินหรือปฏิบัติได้จะต้องเป็นผู้ที่มีทักษะการเป็นฟังที่ดี ดังนี้

  1. ควรฝึกความอดทนในการเป็นผู้ฟังที่ดี เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้วมีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ฟังจำนวนมากเกิดอาการใจลอย เนื่องจากเบื่อหน่ายกับสิ่งที่ฟัง และมีสิ่งอื่นที่น่าสนใจให้ชวนคิดมากกว่า หรือพูดแทรก จากการฟังที่ขาดประสิทธิภาพ
          ควรฝึกโดยการกำหนดให้มีช่วงเวลาหนึ่งในแต่ละวัน ตั้งใจฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด อาจฝึกฝนจากการฟังเทป บทเรียน หนังสือต่างๆ โดยตั้งเวลาในการฟังอย่างเจาะจง พร้อมจดจ่ออยู่ที่เนื้อหาของผู้พูดเสมอ นอกจากนี้ควรฝึกฝนทักษะการฟังโดยการใช้สถานการณ์ที่ทำให้การฟังเป็นไปอย่างลำบาก เช่น ในสถานที่ที่มีสิ่งร้าว หรือมีสิ่งรบกวนจากภายนอก
  2. การมีบรรยากาศในการเป็นผู้ฟัง เป็นหลักการสำคัญในการให้เกียรติผู้พูด เป็นเหตุให้เกิดการปิดกั้นการเรียนรู้จากแหล่งต่างๆ ไปอย่างหน้าเสียดาย รวมทั้งเป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีต่อ   ผู้พูดและผู้ฟัง
          ควรสบตาผู้พูดอยู่เสมอ ไม่เดินไปเดินมา ลุกนั่งหรือย้ายที่นั่งไปมา ในขณะที่กำลังฟังผู้อื่นพูดกับตน ไม่พูดขัดจังหวะหรือพูดแทรกในขณะที่อีกฝ่ายยังพูดไม่จบ
  3. การฟังอย่างกระตือรือร้น ไม่ใช่แต่แสดงท่าทางภายนอกว่ากำลังฟังอยู่ แต่ในสมองต้องมีการทำงาน ถกเถียง และคิดไปด้วยตลอดเวลา จะฟังแบบใจลอย แต่ในสมองต้องมีการทำงานถูกต้อง และคิดไปด้วยอยู่ตลอดเวลา
          ควรตอบสนองการฟังทุกครั้ง ด้วยการแสดงท่าทางตั้งใจ และตอบรับ ครับ / ค่ะ เพื่อให้ผู้พูดรู้ว่าเรากำลังฟังอยู่ รวมทั้งกระตุ้นให้เขาคิดตั้งคำถามย้อนกลับมาทุกครั้งจากที่ผู้พูดคุยสนทนาเสร็จ หรือพูดทบทวนสั่งที่ได้ยินมาซ้ำอีกครั้ง เพื่อเป็นการย้ำว่าสิ่งที่เขาเข้าใจนั้นตงกับสิ่งที่เราพูดออกไป
  4. ควรจับประเด็น โดยตั้งคำถาม เพื่อจัดความสามารถในการฟังความสามารถในการจับประเด็นเป็นตัวชี้ว่า การสื่อสารที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ผู้ส่งสารสามารถบรรลุเป้าหมายในการสื่อสารที่ต้องการไปยังผู้รับสารหรือไม่ ในภาคปฏิบัติหลังจากจบการพูดคุยกันแล้วทุกครั้ง ควรตั้งคำถามทวนซ้ำ เพ่อทดสอบว่าเขาสามารถจับประเด็นในเนื้อหาที่ฟังไปได้หรือไม่

 

การพัฒนาทักษะการฟังนั้นเป็นทักษะที่ต้องเรียนรู้ ฝึกฝน สร้างให้เป็นนิสัย การพัฒนา การฟัง ควบคู่กับทักษรการอ่าน ทักษะการเขียน ทักษะการพูด ที่สอดคล้องกัน

 

การฝึกทักษะการฟัง มีข้อเสนอดังนี้

  1. การฟังทุกครั้งต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน และไม่เลือกฟังเฉพาะเรื่องที่ตนเองสนใจ
  2. รับฟังข้อมูลทั้งหมดก่อนตัดสินใจ
  3. ให้ความสนใจกับผู้พูด
  4. มีการตรวจสอบ ตีความหมายทุกครั้งที่มีการสื่อสาร
  5. เป็นการฟังด้วยการยอมรับสาร และความรู้สึก
  6. แสดงความสนใจ กระตือรือร้นที่จะฟัง
  7. ขจัดสิ่งรบกวนที่ทำลายสมาธิการฟัง
  8. ควรฟังพร้อมสังเกตภาษา ท่าทาง จะช่วยบอกความนัยได้

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น