วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558



ครูไทยกับการเรียนการสอนสู่อาเซียน

 

โลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สังคมแห่งการเรียนรู้ไม่มีวันหยุดนิ่ง สังคมโลกกลายเป็นสังคมความรู้ (Knowledge Society) หรือสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) องค์กรทางการศึกษา จึงต้องปรับตัวให้เป็นองค์แห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยพึงตระหนักว่าคุณภาพการศึกษาขึ้นอยู่กับคุณภาพครูเป็นหลัก ครู และบุคลากรทางการศึกษาจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ ความสามารถแก่ศิษย์

ในชุดปัจจุบัน กระบวนการเรียนการสอนมีการเปลี่ยนแปลงโดยผู้เรียนจะเรียนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัย และสามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่สืบเนื่องมาจากจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นต่อห้องเรียน จนทำให้วิธีการสอนแบบเต็มๆ ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ สื่อที่แสดงมีขนาดใหญ่ไม่เพียงพอสำหรับผู้เรียนที่อยู่หลังห้อง ความจดจ่อกับผู้สอนถูกเบี่ยงแบนจากพฤติกรรม และสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนขนาดใหญ่ ผู้เรียนมีการนำเอาคอมพิวเตอร์พกพาเข้ามาสืบค้นความรู้ในห้องเรียน และถามคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ครูกำลังสอน หรือนำข้อมูลเหล่นั้นมาคุย โดยที่ครูตอบไม่ได้ เมื่อสังคมโลกเปลี่ยนไป ผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้จากโรงเรียนเพียงอย่างเดียว แต่สามารถเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกที่เป็นสังคมรอบตัว

จากสภาพการณ์ที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการจัดการศึกษาในประเทศไทยต้องมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาวะโลก การเข้าสู่สังคมอาเซียนในไม่กี่ปีข้างหน้า ไม่เพียงเฉพาะครูเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการพัฒนาทั้งระบบให้เอื้อต่อการเรียนรู้ในยุคสมัยใหม่ด้วย ดังนั้นจึงควรมีแนวทางที่ควรส่งเสริม และเปิดมุมมองของการพัฒนาครู คือควรมีการให้ความรู้และปรับแนวคิดของครูให้เข้าใจวิธีการเรียนรู้ในยุคอาเซียน ที่ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง จากการสืบค้น การลงมือปฏิบัติ มีอิสระในการเรียนรู้ โดยมีครูคอยชี้แนะในลักษณะของผู้ให้คำปรึกษา ควรส่งเสริมให้ครูได้ศึกษา และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น และควรมีการกำหนดมาตรฐานอาชีพครู โดยเฉพาะความรู้ความสามารถด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้สามารถใช้เป็นเกณฑ์วัดความเป็นครู และเป็นเครื่องมือตรวจสอบ กลั่นกอรงผู้ประกอบวิชาชีพครูได้อย่างชัดเจน

มีคุณภาพ  การส่งเสริมให้ครูทำวิจัยควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อเปลี่ยนไปสู่ครูนักวิจัย โดยครูจะนำปัญหาที่พบในชั้นเรียนจากประสบการณ์เป็นปัญหาในการวิจัย เพื่อหาแนวการแก้ไข หรือแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป ควรถ่ายทอดแนวคิดและการปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างผู้เรียนให้รู้จักคิดวิเคราะห์ อย่างมีเหตุมีผล มีจิตวิจัย ใช้ข้อมูลเพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหา ครูควรอาศัยประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้แบบไม่มีขีดจำกัดเฉพาะในห้องเรียน หรือจากครูเท่านั้น มีการพัฒนาระบบการผลิตครู ออกสู่ตลาดการศึกษา รวมทั้งหลักสูตรครูที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมโลก

นโยบายที่ชัดเจนจะก่อให้เกิดการพัฒนาครูอย่างทั่วถึง การกำหนดมาตรฐานวิชาชีพและการนำเทคโนมาประยุกต์ใช้ก็เป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้ครูพัฒนาตนเอง ครูจะต้องมีความเข้าใจทางภาษาเพื่อสื่อสารในอาเซียน โดยเปลี่ยนแปลงทั้งทัศนคติ วิธีสอน และบทบาท ทั้งยังส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย จนกลายเป็นความรู้ใหม่ที่สามารถนำมาปรับใช้ภายใต้บริบทของตนเอง เพื่อถ่ายทอดและเสริมสร้างความรู้ให้ผู้เรียนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียน มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะชีวิตและวิชาชีพตามคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของประเทศชาติต่อไป

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น