การแปลประโยคกรรม (Passive
voice)
ภาษาอังกฤษเป็นภาษานำมาถ่ายทอดเป็นภาษาต่างๆ มากที่สุดในโลก โดยเฉพาะการถ่ายทอดเป็นภาษาไทย
เพราะแหล่งความรู้สมัยใหม่มักเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลาง เช่น internet
ภาพยนตร์ จดหมายสมัครงาน การเจรจาธุรกิจ หรือในการเรียนการสอน
ภาษาอังกฤษจึงเป็นกุญแจสำคัญที่ใช้เปิดประตูเข้าสู่โลกความรู้ เช่น การอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ
การสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กับชาวต่างชาติ ดังนั้นการแปลงจึงมีความสำคัญมาก
ผู้แปลจะต้องพิจารณาบริบทอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้การแปลเสียหาย
ในการแปลประโยคกรรม จากภาษาอังกฤษเป็นไทยนั้น ผู้แปลจะต้องพิจารณาบริบท (context)
ในภาษาอังกฤษอย่างรอบคอบ เพื่อดูความหมายที่แฝงอยู่
ถ้าบริบทเป็นประสบการณ์ในเชิงลบ หรือความหมายในทางไม่ดี
เวลาแปลให้ใช้ประโยคกรรมแบบที่ 1 คือ ประโยคกรรมถูก ถ้าบริบทเป็นประสบการณ์อันน่าพึงพอใจ
หรือบ่งบอกถึงสถานการณ์อันน่ายินดี ก็ไม่ใช้ประโยคกรรมได้รับ หรือประโยคกรรมแบบที่
2 จากบริบทบ่งบอกว่า ประธานเป็นเพียงผู้รับผลการกระทำจากใครคนใดคนหนึ่ง
หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ให้ใช้ประโยคกรรม
แบบที่ 3 ซึ่งมีนัยความหมายเป็นกลาง
ประโยคกรรมทีนัยความเป็นกลางจะทำหน้าที่บอกกล่าว เล่าเรื่อง หรือรายงาน เหตุการณ์ สถานการณ์
ข้อแนะนำ
วิธีการแปลประโยคกรรมที่ให้ใช้ข้างต้น ลองดูตัวอย่างการแปลประโยคแบบต่างๆ
ได้แก่
- ประโยคกรรมนัยความหมายไม่ดี
- The police station at Mukdaharn was attacked by a group of terrorists on Sundayสถานีตำรวจที่มุกดาหารถูกกลุ่มผู้ก่อการร้ายโจมตีเมื่อวันอาทิตย์
- The students were punished for cutting classนักเรียนถูกทำโทษเพราะโดดเรียน
- That man was fined for throwing cigarettes on the floorผู้ชายคนนั้นถูกปรับฐานโยนบุหรี่ลงบนพื้น
ประโยคกรรมนัยความหมายดี
- He was appointed the chairman of the companyเขาได้รับแต่งตั้งเป็นประธานบริษัท
- He was invited to a partyเขาได้รับเชิญไปงานเลี้ยง
- Thai hotels are praised all over the world for their excellent service
โรงแรมไทยได้รับยกย่องไปทั่วโลกด้วยการบริการชั้นยอดเยี่ยม
ประโยคกรรมนัยความหมายกลาง
- This building has been well desigred to conserve energyตึกนี้ออกแบบมาเป็นอย่างดี ให้ประหยัดพลังงาน
- Fancakes should be eaten warn from the panแพนเค้กควรรับประทานร้อนๆ จากกระทะ
- This fine bread is made from a special wheat floueขนมปังแสนอร่อยนี้ทำจากแป้งสาลีชนิดพิเศษ
ในบางบริบทผู้แปลอาจจะพบว่า
ไม่อาจแปลประโยคกรรมในภาษาอังกฤษให้ตรงกับประโยคกรรมรูปใดรูปหนึ่ง
ในภาษาไทยที่กล่าวมาแล้วได้ เพราะแปลแล้วไม่ได้ใจความ ฟังไม่รื่นหู
ก็อาจเลือกแปลประโยคกรรมนั้นออกมาเป็นประโรมกรรม
(ประโยคที่มีโครงสร้างประธาน + กิริยา + กรรม หรือประโยค active voice ในภาษาอังกฤษ)
ในการแปลงภาษาอังกฤษ ผู้แปลจะต้องเข้าใจ ภาษาทั้งสองคือทั้งภาษาต้นฉบับ
และภาษาแปลงเป็นอย่างดี ต้องมีความรู้ และภูมิหลัง ในเรื่องที่จะแปลงพอสมควร
ต้องมีความสามารถใช้ภาษาอย่างดี เพื่อที่จะได้ถ่ายทอดความคิดของผู้เขียนต้นฉบับให้ผู้อ่านฉบับแปลรู้เรื่อง
เข้าใจ และอ่านได้อย่างมีอรรถรส ผู้เขียนจะต้องใช้ภาษาที่เรียบง่าย
แต่ต้องตรงกับฉบับ กรดูประโยคกรรมนัยมีความสำคัญกับการแปลด้วย
เพื่อที่จะดูความหมายที่แฝงอยู่
ผู้แปลจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างสมควร จะทำให้การแปลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น