ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
การแปลในประเทศไทย
การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส
จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนักมีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วยเพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ ผู้แปลจะต้องติดตามวิชาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีตลอดเวลาศัพท์บางคำ
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย เป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษา
การใช้ภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ
การแปลคืออะไร
การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง
โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ
ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆทั้งสิ้น
อีกทั้งควรรักษาให้ได้รูปแบบตรงตามตันฉบับเดิมอีกด้วยหากทำได้
คุณสมบัติผู้แปล
1. เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2. สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจ
3. เป็นผู้ที่มีศิลปะในการใช้ภาษา มีความเข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษา
4. เป็นผู้ที่เรียนภาษาและวรรณคดีหรือภาษาศาสตร์
5. ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รอบรู้ รักเรียน รักอ่าน และรักการค้นคว้าวิจัย
6. ผู้แปลต้องมีความอดทน และเสียสละ
จุดมุ่งหมายของผู้แปล
1. รู้ซึ่งในเรื่องภาษา มีความรู้พื้นฐานด้านภาษาอย่างดี
2. รักการอ่าน การค้นคว้า
3. มีความอดทน มีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข
4ใ
มีความรับผิดชอบ รู้จักใช้ความคิดของตนเอง
วัตถุประสงค์ของการสอนแปล
1.
เพื่อฝึกผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
2. การสอนให้ผู้แปล สามารถจับใจความสำคัญได้
และสามารถถ่ายทอดความเข้าใจนั้นออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้
3. ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง
มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง
4. ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพหรือผู้ใช้บริการการแปล
บทบาทของการแปล
ผู้รับสาร (receive)
ไม่ได้รับสารจากผู้ส่งสารคนแรกโดยตรง
แต่รับสารจากผู้แปลอีกทอดหนึ่งมีผู้แปลเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับ
ผู้แปลในฐานะตัวกลางในการส่งสารจึงมีบทบาทสำคัญมาก
ลักษณะของงานแปลที่ดี
ลักษณะของงานแปลที่ดี
ควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับใช้ภาษาที่ชัดเจนกระชับความ
ใช้รูปประโยคสั้นๆ แสดงความคิดเห็นได้แจ่มแจ้ง ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสม และรักษาแบบหรือสไตล์ของผู้แต่งงานต้นฉบับไว้
มีลักษณะคือ
1. ความหมายถูกต้องและครบถ้วนตามต้นฉบับ
2. รูปแบบของภาษาที่ใช้ในฉบับแปลตรงกันกับต้นฉบับ
3. สำนวนภาษาที่ใช้สละสลวยตามระดับของภาษา
การให้ความหมายในการแปล
การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาแม่ของตน การให้ความหมายมี 2 ประการ คือ การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
และการตีความหมายบริบทของข้อความต่างๆ
การแปลอังกฤษเป็นไทยต้องคำนึงถึง ดังนี้
1. อนาคตกาล (The Progressive Present)
การแปลที่ต้องเปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกาล (Simple Present)
และอนาคตกาล (Progressive Present)
การกะทำในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับปัจจุบัน (now)การให้ปัจจุบันกาลโดยมีคำว่าalwaysหรือ oftenตัวอย่างเช่น
1. I promise you (now)
2. I am having eye trouble these days.(often , repeatedly)
3. he is learning french (every
day)
4. How do you like Hyderabad! ( a
verb signifying a state of mind)
2. โครงสร้างประโยค อื่นๆ ในการแปลแบบของกาลในภาษาอังกฤษ
รวมทั้งโครงสร้างของไวยากรณ์ มีบางอย่างที่ยากเช่น การใช้กริยาวิเศษณ์
และคุณศัพท์ในประโยคปฎิเสธ
จะแปลได้ในระดับประโยคไม่แปลระดับคำและแปลตามความหมายของคำศัพท์
3. ศัพท์เฉพาะ (Lexis) การแปลความหมายตามศัพท์จะดูง่าย เช่น
Dogs, man เป็นต้น
4. ตีความทำนาย คือการแปลข้ามภาษาจะต้องคำนึงถึงความหมายโดยทั่วไป
มากกว่าการใช้คำเหมือนหรือให้ความหมายเหมือนกับรูปประโยคที่ต่างกันในภาษาเดียวกัน
การแปลกับการตีความจากบริบท
ความใกล้เคียง (Context) และความคิดรวบยอด (Concept) ให้ดูสถานภาพเป็นอยู่ของข้อความ ความหมายจากรอบข้างหรือบริบทของข้อความ
(context) เป็นรูปนามธรรม ดังนั้นผู้แปลจึงต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดจากรูปภาพและสามารถสรุปความหมายออกมา
การวิเคราะห์ความหมายของภาษา
สิ่งที่จะต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความหมายคือ
1.
องค์ประกอบของความหมาย
1.คำศัพท์ คือคำที่ใช้ตกลงยอมรับกันของผู้ใช้ภาษา ความหมายของคำแต่ละคำจะเปลี่ยนแปลงไปได้ในบริบทต่างๆตามที่คำนั้นปรากฏอยู่
2.ไวยากรณ์ หมายถึงแบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา
เพื่อให้เป็นประโยคที่มีความหมาย
3.เสียง
ในภาษาจะมีเสียงจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย เช่น เสียงสระ เสียงพยัญชนะ
เป็นการนำเสียงเหล่านั้นมารวมเข้ากันอย่างเป็นระบบ จะทำให้เกิดหน่วยที่มีความหมาย
เรียกว่า คำ หรือ คำศัพท์
2.
ความหมายและรูปแบบ
ความหมายและรูปแบบมีความสัมพันธ์กันดังนี้
1.ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
เช่น ในรูปประโยคที่ต่างกัน หรือใช้คำที่ต่างกัน
2.รูปแบบเดียวกันอาจจะมีหลายความหมาย ความหมายของรูปแบบ แต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญ
3.
ประเภทของความหมาย
นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดประเภทของความหมายไว้ 4
ประเภทด้วยกัน
1. ความหมายอ้างอิง (referential meaning) หรือความหมายโดยตรง ความหมายอ้างอิงหมายถึงความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม หรือความคิด มโนภาพ
2. ความหมายแปล(Connotative meaning) หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง
ซึ่งอาจจะเป็นความหมายในทางบวก
หรือทางลบก็ได้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาและภูมิหลังของ
3. ความหมายตามบริบท (Contextual
meaning) รูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจจะมีความหมายได้หลายความหมาย
ต้องพิจารณาจากบริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด
จึงจะรู้ความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อ
4.ความหมายเชิงอุปมา (figurative meaning) เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบ ทั้งการเปรียบเทียบแบบเปิดเผย(simile)
และการเปรียบเทียบโดยนัย (metaphor)